ความเป็นมาของเรื่อง


ขนมไทย



      ขนมไทย เป็นอาหารทานเล่นของมนุษย์ที่มีมาแต่โบราณ ถ้าเป็นเรื่องกินนอกจากการทานอาหารคาวแล้วหลายคนมักต้องตบท้ายด้วยขนมหวานกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นขนมหวานประเภทใดก็ตามและอย่างน้อยก็ยังสะท้อนให้เห็นได้ว่าหนึ่งในอาหารที่เรามักเลือกทานตบท้าย โดยส่วนใหญ่มักเป็นขนมไทยด้วยกันทั้งสิ้น ช่างน่าปลาบปลื้มและน่ายินดียิ่งนัก ที่สัญลักษณ์แห่งความเป็นไทยมิขาดหายไป คนไทยยังคงนิยมความเป็นไทยๆ เช่นเดิม ดูได้จากขนมไทยต่างๆ ที่ยังมีคนนิยมทำขายและทำกินกันในครอบครัวอย่างตลอดต่อเนื่อง
      สำหรับขนมไทยนั้นมีให้เลือกสรรเลือกทำและเลือกทานกันอย่างมากมาย เนื่องด้วยหน้าตาสีสันที่งดงาม หอมหวานด้วยรสชาติอันหวานละมุนลิ้น บ่งบอกได้ถึงความละเมียดละไมและการจัดแต่งอย่างประณีตงดงาม ความตั้งใจทำอันสุดแสนประณีตนี้สะท้อนให้ชาวไทยและชาวต่างชาติได้เห็นถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยอีกอย่างหนึ่งที่ควรค่าแก่การเก็บถนอมไว้เหลือเกินยิ่ง ขนมไทยนั้นมีให้เลือกทานกันมากมาย หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันกับทองหยิบ ทองหยอด ทองม้วน ขนมชั้น ขนมเปียกปูน บัวลอย สังขยา ขนมหม้อแกง และถ้วยฟู เป็นต้น ขนมไทยนั้นมีให้เลือกทานกันอย่างมากมายละลานตาไปหมด

            ลักษณะที่ดีของขนมไทย
       ลักษณะที่ดีของขนมไทยที่สำคัญคือ รสชาติหวาน มัน มีกลิ่นหอมส่วนลักษณะภายนอกที่ดูน่ารับประทานนั้นเป็นองค์ประกอบเสริม สมัยก่อนเมื่อยังไม่มีสีสังเคราะห์ผสมอาหารส่วนมากจะใช้สีตามธรรมชาติคือสีจากใบไม้ดอกไม้ และนำมาโขกและคั้นใช้แต่น้ำ เช่น ดอกอัญชัน ใบเตยหอมเป็นต้น
เรื่องของกลิ่นก็เป็นสิ่งที่ขาดมได้ถือเป็นเอกลักษณ์ของขนมไทยเดิมที่ใช้กลิ่นหอมธรรมชาติเหมือนกับการใช้สีกลิ่นที่ได้จากธรรมชาติในการทำขนมไทย เช่น กลีบลำดวน ดอกมะลิ กระดังงา เป็นต้น โดยมีกรรมวิธีที่แต่งต่างกันไป
             การตีไข่ให้ฟู
                อาหารที่ต้องการความโปร่ง พองฟูดูน่ารัปประทานนั้นอาศัยตีไข่ ไข่ขาวจะตีให้ขึ้นฟูมากกว่าไข่แดงหลายเท่า การตีเป็นการเปลี่ยนสถานะของโปรตีน ในไข่ด้วยการแทรงตัวของฟองอากาศ ไข่ที่ขึ้นฟูก็เนื่องมาจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นของฟองอากาศ ยิ่งตีนานฟองอากาศยิ่งเพิ่มขึ้นและเมื่อนำไปผ่านความร้อน ฟองอากาศจะขยายตัว โปรตีนของเนื้อไข่จะขยายตัวตามไปด้วย ทำให้ขนมพองฟู ถ้าตีนานมากเกินไปฟองอากาศจะยุบทำให้ขนมแน่นไม่ขึ้นฟู
              การบรรจุหีบห่อและการเก็บขนมไทย
                  ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีวัสดุสังเคราะห์ที่นำมาใช้ในการบันจุหีบห่อแต่ผลกระทบที่ตมมานั้นส่งผลในด้านลบในแง่ของอันตรายที่มีต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมมากกว่าความสะดวกสบายในการใช้สอย อาธิ เช่นสารเคมีที่ทำภาชนะ เมื่อทำประติกิริยากับความร้อนอาจเกิดการขยายตัวก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างการเมื่อได้สัมผัสหรือบริโภคเข้าไป
                 ส่วนผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นการอุดตันของการระบายน้ำการก่อให้เกิดควันพิษเมื่อมีการเผาไหม้หรือการทับถมอยู่ในดินหรือแหล่งน้ำเป็นเวลานานจะเกิดการสลายตัวของสารเคมีสะสมอยู่ในดินหรือน้ำซึ่งนอกจะส่งผลกระทบโดยตรงกับมนุษนย์แล้วยังส่งผลทางอ้อม โดนการสะสมอยู่ในพืชที่ปลูกอยู่ในดินที่มีสารเจือปน
                  ดังนั้นวัสดุจากธรรมชาติที่นำมาใช้เป้นภาชนะจึงเป็นวิถีทางที่เลือกปลอยภัยเพียงแต่ระวังอย่าให้วัสดุจากธรรมชาตินั้นมีสารเคมีปนเปื้อนมาแล้วก็ตามนอกจากจะได้รสชาติลักษณะและกลิ่นของขนมไทยที่ชวนรับประทานยังปลอดภัยต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อมอีกด้วย

วันสำคัญของไทย
                วันมาฆบูชา วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 วันมาฆะคือวันกลางเดือน 3 เป็นวันที่พระจันทร์เข้าเสวยมาฆาฤกษ์ ถ้าปีใดมีอธิกมาสคือเดือน 8 สองหนแล้ววันมาฆะก็จะเลื่อนออกไปเป็นกลางเดือน 4
                ตามประวัติกล่าวไว้ว่าพระสัมมาสัมพุธเจ้าในสมันต้นแห่งพุธกาลขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กรุงราชคฤห์นั้น ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ 3 ประการคือ 1. การไม่ทำบาปทั้งปวง 2. การทำความดี
3. การทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
               
 พิธีทางพุทธศาสนา
                เมื่อวันมาฆบูชาเวียนมาถึงในปีหนึ่ง ๆ ก็นิยมทำบุญตักบาตร ไปวัดฟังธรรมเทศนาตามวัดต่างๆ จะมีเทศนาเป็นพิเศษจัดประทีป ธูป เทียน เป็นพุทธบูชา จากนั้นพระภิกษุสามเณรและพุทธศานิกชนทั้งหลายก็จะไปประชุมกันที่หน้าพระอุโบสถ ทุกคนถือดอกไม้ธุปเทียนถือวนพระอุโบศถ 3 รอบ และพึงละลึกถึงพระพุทธคุณพระธรรมคุณ และพระสังฆคุณครั้นเวียนจนครบ 3 รอบแล้วก็จะนำเคื่องบูชาไปวางไว่ที่ซึ่งทางวัดได้เตรียมไว้ให้
วันมาฆบูชาเกี่ยวข้องกับทองหยิบทองหยอดอย่างไร
                ทองหยิบทองหยอดนั้นถือว่าเป็นขนมมงคลของประเทศไทยที่นำมาใช้ในการไหว้สิ่งศักดิ์สิทหรือไหว้พระไหว้เจ้า และยังนำมาใส่บาตรกันอีกด้วย
ขนมไทยที่นิยมใช้ในงานมงคล
                ขนมไทยนอกจากจะขึ้นชื่อในเรื่องความหอมอร่อยชวนทานแล้ว ขนมไทยยังมีชื่อที่ไพเราะเป็นมงคลเหมาะในการที่จะนำมาใช้เพื่อความเป็นสิริมงคลในงานพิธีมงคลต่างๆอีกด้วย ทั้งเพื่ออวยพร แสดงความยินดีชื่นชม แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง ความเจริญก้าวหน้า เป็นต้น เราลองมาดูกันค่ะว่าขนมไทยที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ในงานมงคลต่างๆ มีขนมอะไรกันบ้าง
ขนมทองหยอด
                เป็นขนมในตระกูลทองอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ประกอบในพิธีมงคลต่างๆ และมอบเป็นของขวัญในโอกาสพิเศษๆ แทนคำอวยพรหมายถึง ขอให้ร่ำรวย มีเงินมีทอง มั่งมีศรีสุข

ขนมทองหยิบ
                ถือเป็นขนมมงคล เพราะจะมีลักษณะสวยงามเหมือนกับดอกไม้สีทอง เป็นขนมที่ต้องใช้ความสามารถและความพิถีพิถันในการทำ ต้องจับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้ ชื่อขนมทองหยิบยังถือเป็นชื่อที่มีความเป็นสิริมงคล จึงนิยมนำมาใช้ประกอบพิธีมงคลต่างๆ หรือเป็นของขวัญ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย หยิบจับการงานสิ่งใดก็จะเป็นเงินเป็นทอง เหมือนดังชื่อขนมทองหยิบ

ขนมฝอยทอง
                เป็นขนมในตระกูลทองอีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นเส้น นิยมนำมาใช้ในงานมงคลสมรสและถือเคล็ดกันว่าต้องปล่อยให้ขนมเป็นเส้นยาวๆ ห้ามตัดขนมให้สั้นอย่างเด็ดขาด เพราะมีความเชื่อว่าคู่บ่าวสาวจะได้ครองชีวิตคู่และรักกันยืนยาวดั่งเส้นของขนมตลอดไป

ขนมไทยที่นิยมที่สุด
                เราจะมาพูดถึงขนมไทยที่เป็นที่นิยมที่สุดไม่ว่าจะใช้ในงานประเพณีมงคลต่าง   ๆ หรือว่าจะเป็นรสชาติที่แสนอร่อยของมันก็คือ ทองหยิบทองหยอดและฝอยทอง ทองหยิบทองหยอดนั้นเป้นขนมที่ขึ้นขื่อของประเทศไทยเรียกได้ว่าถ้าชาวต่างชาติมาเมืองไทย ต้องได้ชิมหรือซื้อของฝากเป็นทองหยิบทองหยอดติดไม้ติดมือกลับบ้านกันไปอย่างแน่นอนครับ

ประวัฒิความเป็นมาของทองหยอบทองหยอดและฝอยทอง
เมื่อสมัยอยุธยา  เริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตก ไทยเรายิ่งรับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย มารี กีมาร์หรือ ท้าวทองกีบม้า
ท้าวทองกีบม้าหรือ มารี กีมาร์เกิดเมื่อ พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 แต่บางแห่งก็ว่า พ.ศ. 2209 โดยยึดหลักจากการแต่งงานของเธอที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2225 และขณะนั้น มารี กีมาร์ มีอายุเพียง 16 ปี บิดาชื่อ ฟานิก (Phanick)” เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล ผู้เคร่งศาสนา ส่วนมารดาชื่อ อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada)” ซึ่งมีเชื่อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่นานนัก
ชีวิตช่วงหนึ่งของ ท้าวทองกีบม้าได้เข้าไปรับราชการในพระราชวังตำแหน่ง หัวหน้าห้องเครื่องต้นดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้ของเสวย มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน จำนวน 2,000 คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ชื่นชม ยกย่อง มีเงินคืนทองพระคลังปีละมากๆ ระหว่างที่รับราชการนี่เอง มารี กีมาร์ ได้สอนการทำขนมหวานจำพวก ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิงและอื่นๆ ให้แก่ผู้ทำงานอยู่กับเธอและสาวๆ เหล่านั้น ได้นำมาถ่ายทอดต่อมายังแต่ละครอบครัวกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนปัจจุบันนี้
ถึงแม้ว่า มารี กีมาร์หรือ ท้าวทองกีบม้าจะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่เธอก็เกิด เติบโต มีชีวิตอยูในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย นอกจากนั้น ยังได้ทิ้งสิ่งที่เธอค้นคิดให้เป็นมรดกตกทอดมาสู่คนรุ่นหลัง ได้กล่าวขวัญถึงด้วยความภาคภูมิ ท้าวทองกีบม้า เจ้าตำรับอาหารไทย

ชื่อเดิมของท้าวทองกีบม้า
                ในบรรดาเอกสารของบาทหลวงฝรั่งเศสที่บันทึกเรื่องราวของท้าวทองกีบม้า ได้ระบุชื่อเดิมไว้ 2 ชื่อคือ มารี กีมาร์ และอีกชื่อหนึ่งซึ่งปรากฏในจดหมายที่ท้าวทองกีบม้าให้ผู้อื่นช่วนเขียนเป็นภาษาละตินมีไปถึงบิชอบฝรั่งเศษในประเทษจีน แล้วลงชื่อตัวเองว่า ดอณากีมาร์ เดอปินา ชื่อหลังนี้ระบุได้ชัดเจนว่าเป็นชื่อโปรตุเกส ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับชาวต่างชาติที่เป้นคาทอลิก

ทองหยิบ
                ทองหยิบ เป็นขนมโบราณที่อยู่ในชุดของขนมที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่นกันเพราะขึ้น ต้นด้วยทองซึ่งมีลักษณะและสีคล้ายกัน ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ดังนั้น เมื่อนำมาใช้ในพิธีจะใช้เป็นชุดทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะถือเคล็ดที่ชื่อขนมขึ้นต้นด้วยทอง แล้ว ยังถือเคล็ดชื่อต่อท้ายคือหยิบ ซึ่งหมายถึง หยิบเงิน หยิบทองอันจะนำไปสู่ความ ร่ำรวยต่อไป
ทองหยอด

ทองหยอด
                ทองหยอดเป็นขนมโบราณชนิดหนึ่งซึ่งท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ หรือนามเดิม มารี นินยา เดอ กีย์มาร์ เชื้อสายญี่ปุ่น โปรตุเกส ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (นามเดิมคอนสแตน ติน ฟอลคอลชาวกรีก) ท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ มีตำแหน่งเป็นท้าวทองกีบม้า เป็นตำแหน่ง ผู้ปรุงอาหารหลวงโดยท่านได้นำเอาความรู้ที่มีมาแต่เดิมผสมผสานกับความรู้ท้องถิ่น
ปรุงแต่งอาหารขึ้นใหม่ จนเป็นที่รู้จัก คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง (เดิมชาวโปรตุเกส กินกับเนื้อย่างเป็นอาหารคาว)นับเป็นขนมชั้นดี ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ ซึ่งคนไทยเรายังถือ เคล็ดกันอยู่จึงใช้ขนมที่ขึ้นต้นด้วยทอง เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลตามชื่อขนม
วิธีการทำทองหยิบทองหยอด
                หากนึกถึงขนมไทยที่มีมาแต่โบราณ และเป็นที่รู้จักมากที่สุดเห็นทีจะหนี ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด เห็นจะไม่ได้ เพราะด้วยความหอมหวานของเนื้อขนมทำให้พลาดไม่ได้ที่จะหยิบใส่ปาก เอาหละเรามาดูกันว่า ทองหยิบทองหยอด เขาทำกันอย่างไร
ส่วนผสมทองหยอด
ไข่เป็ด 12 ฟอง
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
ส่วนผสมน้ำเชื่อมสำหรับทองหยอด
ทราย 8 ถ้วยตวง หรือ 1 กิโลกรัม 8 ขีด
น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง หรือ 8 ขีด
ส่วนผสมน้ำเชื่อมหล่อ
น้ำตาลทราย 4 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 4 ถ้วยตวง
วิธีทำ ทองหยอด
1.แยกไข่เฉพาะไข่แดง แล้วใช้ไม้ตีไข่ตีจนไข่ขึ้นฟองฟู ตีประมาณ 8 นาที นำแป้งข้าวเจ้า มาร่อนประมาณ 1–2 ครั้ง ผสมกับไข่ที่ตีแล้ว โดยใส่แป้งลงไปทีละน้อย ใช้ช้อนค่อยๆคน ใส่สีแสด ให้เหมือนกับสีไข่ไก่
2.นำ น้ำตาลทราย 8 ถ้วยตวงผสมน้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง ยกขึ้นตั้งไฟคนให้น้ำตาลละลายกรองด้วยผ้าขาวบาง แบ่งน้ำเชื่อมออกเป็น 3 ส่วน แบ่ง 2 ส่วนเอาไว้หยอด อีก 1 ส่วนสำหรับแช่ที่หยอดเสร็จแล้ว นำน้ำเชื่อม 2 สวนที่แบ่งไว้ขึ้นตั้งไฟให้เดือดจนฟู3.นำไข่ที่ผสมแล้วมา หยอดเป็นเม็ด ใช้นิ้วกลางป้ายแล้วสลัดด้วยน้ำหัวแม่มือ หรือใช้สลัดด้วยช้อนก็ได้ หยอดไปจนแป้งที่เตรียมไว้หมด ปล่อยให้สุก ถ้าสุกแป้งจะลอยขึ้นตักลงแช่น้ำเชื่อมที่แบ่งไว้
ส่วนผสมทองหยิบ
ไข่เป็ด 10 ฟอง
ส่วนผสมน้ำเชื่อมสำหรับหยอด
น้ำตาลทราย 8 ถ้วยตวง
น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง

ส่วนผสมน้ำเชื่อมหล่อ
น้ำตาลทราย 4 ถ้วยตวง
น้ำลอยดอกมะลิ 4 ถ้วยตวง
วิธีทำทองหยิบ
แยกไข่ใช้เฉพาะไข่แดง ใช้ไม้ตีไข้ตีประมาณ 4 นาที นำน้ำตาลทราย 8 ถ้วยตวง ผสมกับน้ำเปล่า 4 ถ้วยตวงตั้งไฟให้น้ำตาลละลาย กรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วแบ่งน้ำเชื่อม 2 ส่วนตั้งไฟให้เดือดจนฟู พอที่จะหยอดได้ แล้วยกขึ้นจากเตา ใช้ช้อนตักไข่ที่เตรียมไว้ หยอดให้เป็นวงกลมๆ เต็มกะทะ แล้วยกขึ้นตั้งไฟจนเดือด ตักขึ้น ใส่ลงแช่ในน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ แล้วจึงตักขึ้นมาหยิบเป็นดอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น